การนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานการจัดการความรู้ มจร ปี ๒๕๖๑

เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการดำเนินงานจัดการความรู้มหาวิทยาลัย จัดให้มีการนำเสนอผลงานแนววิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการจัดการความรู้ ประจำปี ๒๕๖๑  ณ ห้องประชุม ๑ – ๔ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา  โดยมีส่วนงานตามโครงสร้างการจัดการความรู้ เข้าร่วมนำเสนอผลงานระดับส่วนงานจำนวน  ๓๐ ผลงาน จาก ๒๕ ส่วนงาน  และระดับบุคคล จำนวน ๑๒ ผลงาน  โดยได้รับความอนุเคราะห์กรรมการผู้ประเมินจากภายใน  ๔ ท่าน และภายนอก ๘ ท่าน

จำแนกตามกลุ่มประเภทผลงานและส่วนงานนำเสนอ ดังนี้

๑.ผลงานระดับส่วนงาน ด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน ๗ ผลงาน ประกอบด้วย

ชื่อผลงาน ส่วนงานที่นำเสนอ
๑. กระบวนการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) วิทยาเขตพะเยา
๒. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธ (Buddhist Participatory Learning : BPL) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
๓. วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาการเมืองกับนโยบายสาธารณะ วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี
๔. นครน่าน : นครแห่งการศึกษา พระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน
๕. องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ
๖. การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด
๗. การเรียนการสอนแบบบูรณาการกับพันธกิจ วิทยาลัยสงฆ์นครพนม

 

๒.ผลงานระดับส่วนงาน ด้านการวิจัย จำนวน ๖ ผลงาน ประกอบด้วย

ชื่อผลงาน ส่วนงานที่นำเสนอ
๑. การพัฒนากระบวนการการติดตามและประเมินผลการวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๒. การสร้างสรรค์งานจิตกรรมฝาผนังมหาเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์แบบฉบับล้านนา ในแหล่งท่องเที่ยวถิ่นล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่
๓. การพัฒนาศักยภาพงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติและนานาชาติ วิทยาเขตนครราชสีมา
๔. การจัดการความรู้ด้านงานวิจัย สู่การตีพิมพ์บทความเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ วิทยาเขตอุบลราชธานี
๕. มหาจุฬาฯกับการสรรสร้างชุมชนและสังคม ภายใต้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
๖. การจัดการความรู้ “KM แนวทางงานสอนสู่งานวิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรรัฐศาสตร์ ให้ประสบผลสำเร็จ” วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี

 

๓.ผลงานระดับส่วนงาน ด้านการดำเนินการตามภารกิจ  จำนวน ๑๗ ผลงาน ประกอบด้วย

ชื่อผลงาน ส่วนงานที่นำเสนอ
๑. การบูรณาการฐานข้อมูลพระสอนศีลธรรม กับการเบิกจ่ายนิตยภัต ด้วย Microsoft Access สำนักงานอธิการบดี  (สำนักงานพระสอนศีลธรรม)
๒. คู่มือการกรอกข้อมูลอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สำนักงานอธิการบดี  (สำนักงานประกันคุณภาพ)
๓. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ สำนักงานอธิการบดี         (กองคลังและทรัพย์สิน)
๔. การจัดทำคู่มือบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย
๕. ขั้นตอนการสมัครเรียนภาษาอังกฤษทั่วไป (GE) สถาบันภาษา
๖. การให้บริการสู่ความเป็นเลิศตามหลักธรรมาภิบาล สำนักทะเบียนและวัดผล
๗. กระบวนการบริหารข้อมูลองค์กรบน Google Cloud สำนักหอสมุดฯ                 (ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ)
๘. แนวทางการให้บริการที่เป็นเลิศ สำนักหอสมุดฯ                 (ส่วนหอสมุดกลาง)
๙. การจัดการโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประชาชนและบุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพจิตใจ สถาบันวิปัสสนาธุระ         (ส่วนงานบริหาร)
๑๐. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อความเป็นเลิศในประชาคมอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษา
๑๑. การบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยาเขตนครราชสีมา  (สำนักวิชาการ)
๑๒. การจัดการความรู้ของส่วนงานมุ่งสู่การพัฒนาแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิทยาเขตนครสวรรค์
๑๓. การส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น (งานผีตาโขน) วิทยาลัยสงฆ์เลย
๑๔. กระบวนการพัฒนาด้านการวิจัยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีผลงานวิจัย วิทยาเขตแพร่
๑๕. การสร้างและพัฒนานิสิตต้นแบบ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
๑๖. การดำเนินการโครการให้ประสบผลสำเร็จ วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง
๑๗. การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
๑๘. กระบวนการเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

 

๔. ผลงานระดับบุคคล จำนวน ๑๒ ผลงาน ประกอบด้วย

ชื่อผลงาน ผู้นำเสนอ
๑. ระบบบริการสืบค้นห้องสอบออนไลน์ นาย คเชนทร์ สุดชื่น
๒. ระบบบริหารค่ายคุณธรรมออนไลน์ พระมหาวิชาญ สุวิชาโน
๓. ผู้ประสานงานจัดการความรู้ มจร.วิทยาเขตอุบลราชธานีสู่งานประกันคุณภาพการศึกษาของมจร.วิทยาเขตอุบลราชธานี Thailand ๔.๐ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นายวรวัฒน์ ราชิวงศ์
๔. เทคนิคพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่เพื่อขอรับการสนัลสนุนทุนวิจัย ดร.สหัทยา วิเศษ
๕. การพัฒนาคุณภาพบทความวิชาการของคณาจารย์วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ดร. สามารถ บุญรัตน์
๖. ระบบสารบรรณทันใจ นายจักรพงศ์ เพ็ญเวียง
๗. หลักและแนวทางปฏิบัติทางนิเวศวิทยาในการจัดการป่าชุมชนของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายสนั่น ประเสริฐ
๘. คลินิกบรรเทาทุกข์ สำหรับนิสิต พระครูวินัยธรวราวุฒิ มหาวโร
๙. จัดการอย่างไรให้ไกลความเสี่ยง นายอาทิตย์ แสวงเฉวก
๑๐. สวัสดิการ : ขวัญและกำลังใจบุคลากร พระชยานันทมุนี
๑๑. แนววิธีปฏิบัติบริหารงานกองทุนการศึกษา พระปลัดนฤดล กิตฺติภทฺโท
๑๒. ขั้นตอนการจัดประชุมคณะกรรมการสถาบันภาษา ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์

 

โดยคณะทำงานได้ประมวลข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ประเมินผลงานแนววิธีปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานและบุคคลที่นำเสนอผลงานดังนี้

 

๑.เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายการจัดการความรู้

– ส่วนงานควรกำหนดองค์ความรู้ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ส่วนงาน

๒.เกี่ยวกับการกำหนดและจัดลำดับความสำคัญขององค์ความรู้หลักและองค์ความรู้

– องค์ความรู้ที่กำหนดต้องผ่านการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญ

– การดำเนินการจะให้เกิดองค์ความรู้หลักที่คัดเลือกดำเนินการ ต้องประกอบด้วยองค์ความรู้ย่อยใดบ้าง

– องค์ความรู้หลักและองค์ความรู้ย่อย มีกระบวนอะไรบ้าง จะต้องใช้วิธีการใดที่จะทำให้สำเร็จ

๓.การวางกลยุทธ์การจัดการความรู้ จำแนกออกเป็นแผนปฏิบัติการ

– กลไกการมอบหมายผู้ปฏิบัติ

– การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๔. การสร้าง แบ่งปัน จัดเก็บความรู้ ประยุกต์ใช้ความรู้ ตามแผนปฏิบัติการ

 

๕.ข้อเสนอแนะอื่นๆ

– การกำหนดวิสัยทัศน์ ที่จะต้องชัดเจนวัดได้

– ตัววัดมีความท้าทาย

– ตัววัด มีผลกระทบต่อผู้รับบริการ คือให้ความสำคัญกับผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอก

– ผลงานระดับส่วนงาน ควรแสดงให้เห็นถึง Work System และ ผลงานระดับบุคคล ควรแสดงให้เห็นถึง Work Process

 

กองกลาง สำนักงานอธิการบดี

๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑